แนวคิดและผลงาน ของ เวย์น ธีโบด์

ไฟล์:Candy Counter, 1969.jpgCandy Counter, 1969

ธีโบด์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากงานจิตรกรรมที่โด่งดังและสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในร้านอาหาร เนื่องจากงานของเขามักจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวอาหาร หรือของหวานเป็นจำนวนมาก อย่างเช่นขนมเค้ก ขนมอบ พายต่างๆ รวมถึงไอศกรีมโคน ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ที่เขาประสบมาครั้งยังเป็นเด็ก เริ่มจากชีวิตวัยเด็กขณะที่เขาอาศัยอยู่ที่ลอง บีช เขาทำงานอยู่ร้านขายไอศกรีมฮอตดอกที่มีชื่อว่า Mile High and Red Hot ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำงานส่วนใหญ่ของเขามักจะเล่าเรื่องราวหรือพรรณนาถึงสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ[8] ขณะที่ธีโบด์อายุ 16 ปี เขาได้เข้าทำงานให้กับเดอะดิสนีย์ สตูดิโอในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนในฐานะนักวาดการ์ตูนหรือวาดภาพประกอบ เมื่อเขาโตขึ้นก็ได้กลายเป็นศิลปินที่วาดภาพเกี่ยวกับการค้า ออกแบบภาพประกอบสำหรับสื่อโฆษณาต่างๆ จนกระทั่งเขาหันมาสนใจในงานวิจิตรศิลป์และได้ผันตัวกลายมาเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานลงบนผืนผ้าใบ

ลักษณะในชิ้นงานของธีโบด์มักจะสร้างโครงร่างของวัตถุที่มีลักษณะชัดเจนจนทำให้นึกถึงภาพการ์ตูน เขามักจะใช้สีสันที่สดใสและรุนแรงตัดกับฉากหลังที่มีสีอ่อนกว่าเพื่อบรรยายถึงตัววัตถุหลักภายในภาพให้ชัดเจน อีกทั้งยังใช้การแสดงเงาในลักษณะพิเศษของการโฆษณาที่มีความเข้มสมจริง ซึ่งลักษณะเงาเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าธีโบด์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของแสงเป็นอย่างมากดังที่เห็นในตัวอย่าง Candy Counter (1969) จะเห็นได้ว่างานในช่วงแรกของธีโบด์นี้มีลักษณะการใช้เส้นสีสร้างให้เกิดเส้นในลักษณะแนวนอน ซึ่งเส้นเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายใดเลย มันอาจจะเป็นเพียงเส้นขอบของโต๊ะก็ได้ แต่ในความจริงมันเป็นเพียงการใช้สีเพื่อสร้างความสนุกให้กับภาพ และหากสังเกตใกล้ๆ จะพบว่าโครงสร้างของภาพหรือสิ่งของนั้นไม่ปกติแต่มีการลงสีที่เหมาะสมแทน[9]

ไฟล์:Sunset Streets, 1985.jpgSunset Streets

ในช่วงทศวรรษที่ 50 เขาได้เห็นงานศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรมจากศิลปินชื่อดังอย่าง วิลเลม เดอ คูนนิ่ง และ โรเบิร์ต เราส์เชนเบิร์ก จนทำให้เขาหันมาสร้างสรรค์ผลงานลงบนผืนผ้าใบขนาดเล็กในหัวข้อเดิมที่เกี่ยวกับอาหารต่างๆ อย่างไรก็ตามตัวธีโบด์เองไม่ได้นำกรอบความคิดของศิลปะในกระแสความเคลื่อนไหวป็อปอาร์ตมาใช้สักเท่าไหร่นัก โดยส่วนใหญ่แล้วงานของเขามักจะกล่าวถึงการล้อเลียน เสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์วิธีทางด้านพาณิชย์และสังคมการบริโภคเสียมากกว่า ธีโบด์ต้องการที่จะอธิบายตัวตนของเขาว่าเป็นจิตรกรหัวโบราณที่สนใจในงานเพื่อการโฆษณา การ์ตูน หรือภาพประกอบการค้า นอกจากนี้เขายังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวเขาท่ามกลางความร่วมสมัยผ่านฝีมือที่มีความพิถีพิถันและการตอกย้ำถึงอุดมการณ์ของตนเองโดยไม่สนใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกของศิลปะ[10]

นอกจากนี้หลังจากที่เขาย้ายกลับไปที่แคลิฟอร์เนียในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 ธีโบด์ก็เริ่มหันมาสร้างผลงานในประเด็นอื่น ซึ่งคือภาพภูมิทัศน์ของชนบทในแซคราเมนโตก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโกและสร้างสรรค์ชุดภาพภูมิทัศน์ของตัวเมืองซานฟราสซิสโกออกมาเป็นจำนวนมากในปี ค.ศ. 1972 โดยใช้ฉากภูมิประเทศที่โดดเด่นของเบย์ แอเรีย (the Bay Area) เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงาน[11] ไม่ว่าจะเป็นฉากเมือง อาคาร สิ่งก่อสร้างและถนนหนทาง เช่นภาพ Sunset Streets (1985) และ Flatland River (1997) จะเห็นได้ว่าภาพจะมีลักษณะเกินจริง นอกจากนี้เขายังได้วาดภาพตัวละครการ์ตูนที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปเช่น มิกกี้ เมาส์ (Mickey Mouse) อีกด้วย

กล่าวโดยสรุปได้ว่างานที่ธีโบด์สร้างขึ้นมานั้นไม่ได้เป็นเพียงความต้องการหรือความปรารถนาในอาหารดังที่เห็นในภาพ หากแต่เป็นความทรงจำที่ได้พบเห็นครั้งยังเป็นเด็กตามฝาผนัง กำแพงหรือหน้าต่างในร้านค้า ร้านอาหาร หรือโรงภาพยนตร์ แต่สิ่งที่ธีโบด์ต้องการจะสื่อถึงไม่ได้มีเพียงภาพอาหารหรือภาพภูมิทัศน์เพียงอย่างเดียว ในปัจจุบัน ธีโบด์ยังคงวาดภาพในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอางหรือรองเท้า ที่ถูกวาดออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อล้อไปกับบริบททางสังคมแบบอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งการลงสีที่หลากหลายกับแสงที่สว่างเพื่อที่จะเน้นถึงสิ่งที่เขาต้องการเน้นย้ำ เช่นคน สถานที่หรือสิ่งของ และต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองในอดีตของวัฒนธรรมป็อป และฉากหรือภูมิทัศน์ของอเมริกาที่ผู้ชมสามารถบ่งบอกถึงสถานที่ได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างผลงาน

ไฟล์:Cakes, 1963.jpgCakes, 1963
  • 1957 Antique Coin Machine
  • 1961 Pies, Pies, Pies
  • 1962 Around the Cake
  • 1962 Bakery Counter
  • 1963 Cakes
  • 1963 Girl with Ice Cream Cone
  • 1963 Three Machines
  • 1964 Three Strawberry shakes
  • 1964 Man Sitting - Back View
  • 1965 Stick Candy
  • 1966 Powder With Puff
  • 1967-68 Coloma Ridge
  • 1967-87 Sandwich Plate
  • 1970 Large Sucker
  • 1970 Seven Suckers
  • 1971 Millefeuilles
  • 1975 Shoe Rows
  • 1977 24th Street Intersection
  • 1979 Four Cakes
  • 1981 Candy Apple
  • 1981 Hill Street (Day City)
  • 1987 Two Paint Cans
  • 1993 Apartment View
  • 1996 Farm Channel
  • 1999 Reservoir
  • 2002 Jolly Cones (Ice Cream Cones)
  • 2005 Donuts and Cupcakes
  • 2006 Seven Dogs
  • 2010 Google - 12th Birthday Cake